E-Portfoli in Science Experiences Managment for Early Childhood Semester 1/2557

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  7กันยายน  2557   ครั้งที่8


อาทิตย์นี้สอบคะ

บันทึกอนุทิน ครั้งที่7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  30 กันยายน  2557   ครั้งที่7
เวลาเข้าสอน  08.00  น.   เวลาเข้าเรียน 08.30  น.
เวลาเรียน  12.20  น.


วันนี้อาจารย์ให้ทำ งานประดิษฐ์ 2 อย่าง
กิจกรรมแรก  กังหัน









tool
1. กระดาษแผ่นเล็ก 1 แผ่น 
2.  คลิปติดกระดาษ 1 อัน
3. กรรไกร 1 อัน

make 
1.พับกระดาษครึ่ง
2.จากนั้นตัดกระดาษครึ่งแผ่น
3. และพับคึ่งที่ตัด ให้ไปคนละทางกัน
4.จากนั้นก็นำคลิปนีบกระดาษไปนีบอีกฝั่ง

กิจกรรมนี้ เราจะรู้วิธีการโยน ระดับ และ อยู่ที่แรงลม 

กิจกรรมที่สอง
สัตว์น้อยขึ้นลง



  tool
1. แกรนกระดาษเช็คชู่  
2. กรรไกร
3 กระดาษ 1 แผ่นครึ่ง
4.เชือกไหมพรม 
5.กาว
6.สี
7.ตัวเจาะรู

 make 
1.ตัดตรงกลางแกรนกระดาษเช็คชู่
2.นำตัวเจาะรูมาเจาะ 2 รู ฝั่งเดียวกัน 
3.ตัดกระดาษให้เป็นวงกลม
4.วาดรูปใส่กระดาษ และตกแต่งให้สวยงาม
5.นำรูปที่วาดมาแปะตรงแกรนกระดาษเช็ดชู
6.นำเชือกมาร้อย 


บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  21 กันยายน  2557   ครั้งที่6
เวลาเข้าสอน  08.00  น.   เวลาเข้าเรียน 08.30  น.
เวลาเรียน  12.20  น.

Article of a day

1.สอนลูกพืช
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
3.แนวทางการสอนคิดเติมวิทให้กับเด็กปฐมวัย
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกสำหรับคุณหนู

5.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ

วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ 
ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล
เราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
วันนี้เราได้สรรหากิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลและเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

1. การทดลองวิทยาศาสตร์อนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี – สีสายรุ้งประกาย 7 สี

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. สีน้ำที่เป็นแม่สี
2. จานรองสี
3. พู่กัน
4. แก้วใส่น้ำสำหรับทำความสะอาดพู่กัน

ผสมสีสายรุ้งให้มันส์กันไปเลย!

  1.  หารูปภาพของสายรุ้งมาให้ลูกดูสีเป็นตัวอย่าง
  1. ให้ลูกน้อยนำสีเหลืองไปผสมกับสีน้ำเงิน คนให้เข้ากัน
  1. จากนั้นจะได้เป็นสีเขียว เหมือนสีของสายรุ้งหนึ่งสี
  1. ให้ลูกลองผสมแม่สีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สีสายรุ้ง 7 สี
ลูกน้อยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสีของสายรุ้งและช่วยให้พวกเขาเข้าใจต้นกำเนิดของสีสันต่างๆ 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลที่เต็มไปด้วยสีสันสดใสนี้ยังสามารถดึงดูดความสนใจ 
และความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย

กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย – อ่านจดหมายลับจากกระดาษเปล่า!

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. ปากกาหมึกซึม
2. น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว
3. กระดาษ
4. ไดร์เป่าผม

วิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น!

1. จุ่มปากกาลงในน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน แล้วเขียนตัวอักษรลงไปในกระดาษ
2. ผึ่งกระดาษไว้ให้แห้ง
3. ใช้ไดร์เป่าผมเป่ากระดาษไปเรื่อยๆ แล้วตัวอักษรจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ได้นะ?

คุณแม่สามารถอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจในแง่วิทยาศาสตร์ว่า ที่เป็นเช่นนี้ 
พราะเมื่อน้ำมะนาวหรือน้ำสมสายชูถูกความร้อนแล้วจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อออกซิเจนในอากาศ 
ทำให้ออกซิไดซ์ในน้ำมะนาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

การทดลองวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการในการสังเกตของลูกน้อย

การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับการสังเกต 
และการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล
ทักษะการสังเกตเป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  1. ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
  1. ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร
  1. ทักษะการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัมผัสกับสภาพอากาศและพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ
มาจาก http://www.breeze.co.th

Knowledge
วันนี้อาจารย์พูดถึงกิจกรรมหลัก6 กิจกรรม  และบอกถึงการเริ่มกิจกรรมหลัก6กิจกรรมว่าควรนำกิจกรรมไหนมาเริ่มก่อน
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมสร้างสร้างสรรค์
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา


Activity



อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กรรไกร
5.สก็อตเกป








1. วาดรูป อะไรก็ได้ตามที่ตัวเองชอบ ทั้ง2แผ่น
2. นำไม้มาวางและนำเทปมาแปะตรงกลางของกระดาษแผ่นใดแผ่นหนึ่ง 
3. นำกาวมาทาและปิดติดให้สนิท





Syn 
ถ้าเราหมุนเร็วๆ เราจะได้ภาพ2ภาพมารวมกัน เหมือนเป็นภาพเดียวกัน
Learn move
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)















บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  16 กันยายน  2557   ครั้งที่5
เวลาเข้าสอน  08.00  น.   เวลาเข้าเรียน 08.30  น.
เวลาเรียน  12.20  น.


  แสงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นต้นกำเนิดที่ทำให้เกิดภาพที่ตาของเราสามารถมองเห็น แสงที่เราเห็นเป็นสีขาวประกอบด้วยคลื่นแสงของสีหลาย ๆ สีมารวมกัน เมื่อแสงเดินทางไปกระทบวัตถุหนึ่ง ๆ คลื่นแสงของสีบางสีถูกวัตถุดูดกลืนไปและสะท้อนคลื่นแสงสีอื่นเข้าสู่ตาเราทำให้เรามองเห็นวัตถุเป็นสีนั้น การที่ตาของเราเห็นความเข้มของแสงที่บริเวณต่าง ๆ บนผิวของวัตถุไม่เท่ากันเนื่องมาจากระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผิวของวัตถุที่บริเวณต่าง ๆ ยาวไม่เท่ากัน และระนาบของผิวของวัตถุทำมุมกับแหล่งกำเนิดแสงไม่เท่ากัน บริเวณที่สว่างที่สุดบนผิววัตถุเรียกว่า Highlight ส่วนบริเวณของวัตถุที่ไม่ถูกแสงกระทบจะพบกับความมืด ความมืดบนผิวของวัตถุจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีแสงจากที่ใดที่หนึ่งมากระทบน้อยหรือมาก บริเวณที่มืดที่สุดบนผิววัตถุเรียกว่า High Shade การที่แสงส่องมายังวัตถุ จะถูกตัววัตถุบังไว้ทำให้เกิดเงาของวัตถุไปปรากฏบนพื้นที่ที่วางวัตถุนั้น
   วัตถุบนโลกเรานี้ เมื่อมีแสงมากระทบแล้วจะมีคุณสใบัติต่างกัน3แบบ 2 แบบเเรกจะมีคุณภาพที่คล้ายกัน คือ แสงจะทะลุผ่านไปได้ และแสงบางส่วนเรียกว่า วัตถุโปรงแสง (แสงที่ทะบุผ่านได้แค่บางส่วนมองเห็นภาพไม่ชัด) และ วัตถุโปร่งใส (แสงที่ทะแสงทะลุผ่านไปได้ทั้งหมด) ส่วนวัตถุอีกแบบจะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วก็จะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าตา เราเรียก วัตถุทึบแสง ซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลก

คาไลโดสโคป  (kaleidoscope)  คือกล้องรูปร่างทรงกระบอกด้านในประกอบด้วยกระจกเงาหลายแผ่นหันหน้าเข้าหากันปลายด้านหนึ่งเจาะช่องไว้สำหรับมองปลายอีกด้านมีช่องแสงเข้าซึ่งบรรจุวัตถุต่างเ

รุ้งกินน้ำ
  เป็นการกระจายของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผ่านผิวของละองน้ำ ทำให้แสงสีต่าง ๆ กระจายออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวด้านหลังของละอองน้ำแล้วหักเหออกสู่อากาศ ทำให้แสงขาวกระจายออกเป็นแสงสีต่าง ๆ กัน แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟหรือ โคมไฟชนิดปิดแบบต่าง ๆ 
การทะลุผ่าน (Transmission) 
การทะลุผ่าน หมายถึงการที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่ความถี่ไม่เปลี่ยนแปลงวัตถุที่มีคุณสมบัติการทะลุผ่านได้ เช่น กระจก ผลึกคริสตัล พลาสติกใส น้ำและของเหลวต่าง ๆ
การดูดกลืน (Absorbtion)
การดูดกลืน หมายถึง การที่แสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในตัวกลางโดยทั่วไปเมื่อมีพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆเช่น เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องต้มน้ำพลังงานแสง และยังนำคุณสมบัติของการดูดกลืนแสงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวจะดูดแสงน้อยกว่าสีดำ จะเห็นได้ว่าเวลาใส่เสื้อผ้าสีดำ อยู่กลางแดดจะทำให้ร้อนมากกว่าสีขาว
การแทรกสอด (Interference)
การแทรกสอด หมายถึง การที่แนวแสงจำนวน 2 เส้นรวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักล้างกัน หากเป็นการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้แสงมีความสว่างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหักล้างกัน แสงก็จะสว่างน้อยลด การใช้ประโยชน์จากการสอดแทรกของแสง เช่น กล้องถ่ายรูปเครื่องฉายภาพต่าง ๆ และการลดแสงจากการสะท้อน ส่วนในงานการส่องสว่าง จะใช้ในการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง


การมองเห็น
เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง โดยรุ้งกินน้ำนั้น สีที่เราเห็นมักจะมองเห็นไม่ครบ 7 สี เพราะ สีบางสีจะกลืนซึ่งกันและกัน
แสงที่เกิดเป็นรุ้งนั้นคือแสงขาว และเกิดการหักเหจนเกิดเป็นแถบสี7แถบ โดยสีม่วงจะมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยที่สุด


ประเมินตนเอง
    แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆสนใจในการเรียน
ประเมินการเรียน
     วันนี้อาจารย์แต่งกายสวย และเข้าสอนตรงวลา