E-Portfoli in Science Experiences Managment for Early Childhood Semester 1/2557

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  21 กันยายน  2557   ครั้งที่6
เวลาเข้าสอน  08.00  น.   เวลาเข้าเรียน 08.30  น.
เวลาเรียน  12.20  น.

Article of a day

1.สอนลูกพืช
2.เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
3.แนวทางการสอนคิดเติมวิทให้กับเด็กปฐมวัย
4.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกสำหรับคุณหนู

5.การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ

วัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น และเป็นวัยที่กำลังมีการพัฒนาทางปัญญา
การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะช่วยส่งเสริมด้านความคิดของพวกเขา และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว
เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมาย 
ทักษะการวัดที่มาพร้อมกับทักษะการคำนวณ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ 
ตัวเขาซึ่งเกิดจากความซับซ้อนของธรรมชาติและจักรวาล
เราเข้าใจถึงวัยเด็กที่ต้องการการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
วันนี้เราได้สรรหากิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลและเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

1. การทดลองวิทยาศาสตร์อนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี – สีสายรุ้งประกาย 7 สี

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. สีน้ำที่เป็นแม่สี
2. จานรองสี
3. พู่กัน
4. แก้วใส่น้ำสำหรับทำความสะอาดพู่กัน

ผสมสีสายรุ้งให้มันส์กันไปเลย!

  1.  หารูปภาพของสายรุ้งมาให้ลูกดูสีเป็นตัวอย่าง
  1. ให้ลูกน้อยนำสีเหลืองไปผสมกับสีน้ำเงิน คนให้เข้ากัน
  1. จากนั้นจะได้เป็นสีเขียว เหมือนสีของสายรุ้งหนึ่งสี
  1. ให้ลูกลองผสมแม่สีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้สีสายรุ้ง 7 สี
ลูกน้อยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสีของสายรุ้งและช่วยให้พวกเขาเข้าใจต้นกำเนิดของสีสันต่างๆ 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์อนุบาลที่เต็มไปด้วยสีสันสดใสนี้ยังสามารถดึงดูดความสนใจ 
และความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย

กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย – อ่านจดหมายลับจากกระดาษเปล่า!

สิ่งที่คุณแม่ต้องเตรียม
1. ปากกาหมึกซึม
2. น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาว
3. กระดาษ
4. ไดร์เป่าผม

วิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น!

1. จุ่มปากกาลงในน้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวก่อนที่จะเริ่มต้นการเขียน แล้วเขียนตัวอักษรลงไปในกระดาษ
2. ผึ่งกระดาษไว้ให้แห้ง
3. ใช้ไดร์เป่าผมเป่ากระดาษไปเรื่อยๆ แล้วตัวอักษรจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น

ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ได้นะ?

คุณแม่สามารถอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจในแง่วิทยาศาสตร์ว่า ที่เป็นเช่นนี้ 
พราะเมื่อน้ำมะนาวหรือน้ำสมสายชูถูกความร้อนแล้วจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อออกซิเจนในอากาศ 
ทำให้ออกซิไดซ์ในน้ำมะนาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

การทดลองวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการในการสังเกตของลูกน้อย

การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับการสังเกต 
และการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล
ทักษะการสังเกตเป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  1. ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
  1. ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
  1. ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร
  1. ทักษะการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัมผัสกับสภาพอากาศและพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ
มาจาก http://www.breeze.co.th

Knowledge
วันนี้อาจารย์พูดถึงกิจกรรมหลัก6 กิจกรรม  และบอกถึงการเริ่มกิจกรรมหลัก6กิจกรรมว่าควรนำกิจกรรมไหนมาเริ่มก่อน
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมสร้างสร้างสรรค์
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.กิจกรรมเกมการศึกษา


Activity



อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กรรไกร
5.สก็อตเกป








1. วาดรูป อะไรก็ได้ตามที่ตัวเองชอบ ทั้ง2แผ่น
2. นำไม้มาวางและนำเทปมาแปะตรงกลางของกระดาษแผ่นใดแผ่นหนึ่ง 
3. นำกาวมาทาและปิดติดให้สนิท





Syn 
ถ้าเราหมุนเร็วๆ เราจะได้ภาพ2ภาพมารวมกัน เหมือนเป็นภาพเดียวกัน
Learn move
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น